8 วิธีเขียนบล็อกให้ประสบความสำเร็จ


       สำหรับบทความนี้ Naibirth ก็ได้ไปพบเข้าโดยบังเอิญ นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์ ลองอ่านแล้วดูน่าสนใจดี และคงจะเป็นประโยชน์ต่อคนสร้างบล็อกใหม่ไม่ใช่น้อยหละครับ ยังไงก็ลองอ่านดูนะครับ
       เป็นที่ทราบกันดีว่า คนทั่วโลกกำลังฮิตเขียนบล็อก (blog) มากขึ้นเรื่อยๆ วันนี้มีวิธีเขียนบล็อกให้ประสบความสำเร็จ 8 วิธีจากอาจารย์ซูซาน กูเนลิอุส แห่ง about.com มาฝากพวกเราครับ


(1). เขียนเรื่องที่คนอื่นสนใจ


  • ความแตกต่างระหว่างไดอารี (diary) กับบล็อก (blog) คือ ไดอารีเขียนไว้ให้ตัวเองอ่าน บล็อกมีไว้ให้คนอื่นอ่าน จึงต้องคอยสอดส่องว่า คนอื่นชอบอ่านเรื่องอะไร เช่น เข้าอ่านบล็อกยอดฮิตว่า มีเนื้อหา เทคนิคอย่างไร จะได้ปรับปรุงบล็อกเราได้ต่อไป
  • บล็อกที่มีจำนวนคนอ่านสูงมักจะเป็นบล็อกที่หยิบยกเรื่องที่มวลชน หรือคนหมู่มากสนใจ (broad appeal) ขึ้นมาเขียน
  • เขียนเรื่องที่เรารักจึงจะมีความสุข เขียนได้ทน และนาน
  • กล่าวกันว่า บล็อกนั้นไม่ใช่สื่อตัวอักษร แต่เป็น "สื่อที่มาจากใจ" ต่างหาก
  • บล็อกเกอร์ที่มุ่งมั่น "อัพบล็อก (upload blogs)" ได้บ่อยหน่อยมักจะได้เปรียบ
  • ตรงนี้ใครมีทักษะการพิมพ์แบบสัมผัสจะช่วยได้มากๆ เลย
  • บล็อกเกอร์มือโปรมักจะให้เวลากับบล็อกมากหน่อย เช่น อ่านบล็อกคนอื่น ค้นคว้า ฯลฯ
  • สมัยก่อนนักเขียนเขียนลูกเดียว นักอ่านก็อ่านลูกเดียว เป็นการสื่อสารทางเดียว
  • ยุคนี้บล็อกเกอร์ที่เข้าสังคม(ออนไลน์)" เป็น คือ แวะไปเยี่ยมบล็อกเพื่อนๆ บ้าง ไป "เม้นต์ (comment / คอมเม้นต์)" บ้าง จะได้เปรียบ
  • บล็อกที่ค้นคว้า รู้ลึก รู้จริงมักจะได้เปรียบ... ยุคนี้ใครเป็นนักอ่าน หรือเก่งภาษาอังกฤษจะมีความได้เปรียบมาก เพราะจะค้นคว้าได้เร็วและไกลขึ้นมาก
  • บล็อกที่มีเนื้อหาดี ใหม่ และมีคุณค่าต่อผู้อ่าน (สาระ บันเทิง หรือทั้งสองอย่าง) จะมีความได้เปรียบ
  • ถ้าเป็นสาระก็ควรสร้างสรรค์ให้สาระ "เบาๆ สบายๆ" แบบหนังสือพิมพ์หน่อย เพราะบล็อกไม่ใช่คำปฏิญาณของลูกเสือสำรอง รายงานการวิจัย หรือวิทยานิพนธ์
  • การเขียนบล็อกมีลักษณะคล้ายๆ กับการ "ฝึกงาน" คือ ต้องเรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน (interactive learning through action) ระหว่างบล็อกเกอร์กับผู้อ่าน (คนที่ให้ข้อคิดเห็นดีๆ ส่วนใหญ่เป็นเพื่อนๆ บล็อกเกอร์) ในระยะยาว

(2). เขียนเรื่องที่เรารัก (passion)
(3). มีความมุ่งมั่น (commitment)
(4). ให้เวลา (time)
(5). สร้างเครือข่าย (network)
(6). ค้นคว้าหาความรู้ (learn & research)
(7). มีความคิดสร้างสรรค์ (creativity)
(8). อดทน (patience)

          ครูภาษาไทยของนพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์ สอนว่า "ชีวิตนักเขียนเริ่มต้นที่ถังขยะ" คือ เขียนแล้วทิ้งเองบ้าง บรรณาธิการไม่รับพิมพ์บ้าง เป็นซ้ำๆ อยู่อย่างนี้ คนที่จะเป็นนักเขียนได้จึงต้อง "อึด" อดทนในสิ่งที่ "คนส่วนใหญ่ทนไม่ได้"
          เมื่อผ่านจุดที่ "คนส่วนใหญ่ทนไม่ได้" แล้ว โอกาสแห่งความสำเร็จก็ตามมาเอง โลกที่หมุนรอบตัวเองมารอบแล้วรอบเล่าสอนเราว่า "เต่ายังเอาชนะกระต่ายได้ด้วยความอึด"

          ชีวิตบล็อกเกอร์ก็คล้ายๆ เต่าที่เริ่มจากต้วมเตี้ยม ไต่เต้า และเอาชนะได้ด้วยการยืดหยัดพิมพ์ๆๆๆๆ เข้าไป  ถึงตรงนี้... ขอสวัสดีปีใหม่ ขอมอบเรื่องนี้เป็นของขวัญปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน และขอให้พวกเรา (ท่านผู้อ่าน + รวมผู้เขียนด้วย) ประสบความสุข ความเจริญ ความสำเร็จโดยธรรม (ได้มาโดยชอบธรรม) ขอให้พวกเราเป็นบล็อกเกอร์ที่มีความสุขตลอดปี 2552 และตลอดไปครับ


ขอบคุณข้อมูลจาก www.gotoknow.org  โดย นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์

1 ความคิดเห็น: